มาต่อกับI can changeภาค2 คราวนี้เราได้ดูตัวอย่างการเล่าเรื่องจากคนญี่ปุ่นด้วย ก็ลองเอาของเค้ามาใช้บ้างเผื่อจะดีขึ้น(รึเปล่านะ) แต่คราวนี้เป็นการเขียนแก้เฉยๆนะ เปลี่ยนยังไงบ้างมาดูกัน
ホテルのロビーのソファーに座り、くつろいでいた男性が、見回しているとたまたま外国人と目が合ってしまいました。その外国人は、カメラを首からぶらさげ、地図を手に持って、どうやら道を探していたようです。やはりそうです、その外国人は道を説明してもらうために座っている男性に近づいてきました。しかし、男性は外国語がさっぱり分からないので、説明するのを逃げるために、隣のおじさんが広げている新聞のかげに隠れてしまいました。外国人はなんでこの男性がそのようなことをするのが分からなくて、言葉を失っていました。
内省
1.
1.
ต่อไปนี้จะไม่ใช้คำว่าある部屋ขึ้นต้นเวลาเล่าเรื่องเนื่องจากคนญี่ปุ่นไม่ใช้รูปประโยคแบบนี้กันและเราก็ไม่ได้ต้องการอธิบายอะไรเกี่ยวกับ部屋ต่อจากนี้ดวย อันใหม่นี้เลยเปลี่ยนเป็นホテルのロビー
2.
อันก่อนอธิบายว่ามีผู้ชายสองคนนั่งอยู่คนที่อ่านหนังสือพิมพ์นั่งอยู่ฝั่งนี้
อีกคนนั่งเฉยๆไม่ทำอะไรนั่งอยู่อีกฝั่ง ตอนแรกคิดว่าควรอธิบายเพราะจะได้เห็นภาพแต่พอดูการเล่าของคนญี่ปุ่นแล้วน้อยคนมากที่อธิบายเลยคิดว่าตัดส่วนนี้ออกไปดีกว่าใส่ไปเยอะยิ่นเย้อ
เพราะถึงแม้มากล่าวตอนท้ายว่าหลบหลังหนังสือพิมพ์ของคนที่นั่งข้างๆก็เข้าใจได้แล้ว
3.
อันแรกจริงๆอยากอธิบายวผู้ชายว่านั่งพักอยู่ที่โซฟาเฉยๆแต่ไม่รู้จะใช้คำว่านั่งพักผ่อนอยู่ยังไงดีเลยใช้ไปว่า他の人は何もしないでこのまま座っていますซึ่งยาวมากแถมแปลกๆด้วย อันใหม่เลยเปลี่ยนมาใช้ソファーに座り、くつろいでいた男性。คำที่ได้เรียนรู้ใหม่นี่ก็คือคำว่าくつろいซึ่งแปลว่าพักผ่อนนั่นเองทำให้สื่อความหมายได้ตรงกระชับมากขึ้น
4.
ตอนแรกใช้คำว่า前に見てก็เปลี่ยนมาเป็น見回すที่แปลว่ามองไปรอบๆนอกจากนี้ยังเพิ่มคำว่าたまたまที่แสดงถึงความบังเอิญอีกด้วยต่อจากนี้ก็จะลองใช้たまたまใส่เข้าไปด้วยเวลาต้องการจะบอกว่ากริยานั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
5.
อันก่อนเวลาไม่แน่ใจอะไรก็จะจบด้วยรูปかもしれませんตลอดครั้งนี้เลยเปลี่ยนมาใช้どうやらที่แปลว่าดูเหมือนว่าดู ต่อจากนี้ก็จะพยายามลดการจบประโยคด้วยรูปかもしれませんและหันมาใช้รูปแบบการพูดที่แสดงถึงการคาดเดาไม่แน่ใจอย่างどうやらให้มากขึ้น
6.
นอกจากนี้ที่เพิ่มมาคืออธิบายด้วยว่าคนต่างชาติแขวนกล้องไว้ที่คอ
ตอนแรกไม่รู้จะพูดยังไงเลยไม่ได้อธิบายแต่ถ้าจะให้อธิบายเองคงใช้กริยาかける พอมาดูการใช้ของคนญี่ปุ่นเค้าใช้ว่าカメラを首からぶらさげるก็เลยลองใช้ตามมั่ง ต่อจากนี้ถ้าจะพูดว่าคล้อง ห้อย
หรือแขวนก็จะลองใช้คำว่าぶらさげるดูมั่ง
7.
อันแรกที่จะบอกว่าแล้วก็จริงๆด้วยอย่างที่คิดคนต่างชาติเดินเข้ามา
ใช้คำว่า本当にซึ่งอาจจะผิดเซนซ์
พอมาดูตัวอย่างก็นึกขึ้นได้ว่าใช้やはりน่าจะเหมาะสมกว่า
ต่อจากนี้ถ้าอยากจะบอกว่าจริงๆด้วยเป็นอย่างที่คิดเลยก็จะใช้やはり
8.
เปลี่ยนจากที่ใช้ว่า男の人に歩いてきましたซึ่งเป็นการพูดจากภาษาไทยประมาณว่าเดินเข้ามามาเป็น男性に近づいてきましたที่จริงเคยเห็นการใช้คำ近づくมาหลายรอบแล้วแต่ไม่เคยเอามาลองใช้เองเลย
คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็ใช้คำนี้กัน ต่อจากนี้ก็จะพยายามใช้คำนี้ให้บ่อยขึ้น
9.
แต่ก่อนถ้าจะบอกไม่เข้าใจอะไรเลยก็จะพูดแต่全然分からないเพิ่งรู้ว่ามีวิธีพูดวิธีอื่นด้วยคือさっぱり分からない คิดว่าจะลองเอาไปใช้ดูค่ะ
10.ตอนจะอธิบายว่ากางหนังสือพิมพ์อยู่นี่ยากมากถึงขั้นอธิบายไม่ได้ต้องทำท่าประกอบแต่ตอนนี้รู้แล้วว่าใช้คำว่า広げる นอกจากนี้ตอนแรกจะอธิบายว่าเด็กผู้ชายก็เลยไปหลบอยู่หลังหนังสือพิมพ์ก็ใช้คำว่า新聞の中にไปแต่ยังพูดไม่ทันจบเพื่อนเกิดงงว่าในหนังสือพิมพ์เนี่ยนะตอนอธิบายก็เลยเปลี่ยนเป็น後ไปก็คิดว่าคงใช้中ไม่ได้แต่พอมาดูตัวอย่างของคนญี่ปุ่นก็มีอยู่คนนึงใช้中เหมือนกันแต่ต่างกันหน่อยตรงที่เค้าใช้ว่า 新聞紙の中แต่ในอันนี้ลองใช้เป็น新聞のかげに隠れてしまいましたตามคนญี่ปุ่นดู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น